การกู้ยืมเงินกัน ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกท่านเคยพบเจอกันบ่อย ๆ แต่ในความเป็นจริงเรามักให้กู้ยืมเงินได้โดยง่ายผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ แล้วแบบนี้หากไม่มีการชำระเงินคืนและเป็นการกู้ยืมเงินแต่ไม่มีสัญญากู้ ฟ้องคดีได้หรือไม่ วันนี้เรามาไขข้อสงสัยกันค่ะ
การกู้ยืมเงิน ย่อมบริบูรณ์ได้เมื่อมีการเสนอ สนอง ถูกต้องตรงกันของคู่สัญญาและมีการส่งมอบเงินที่กู้ยืม นอกจากนี้เมื่อสัญญากู้ยืมเงินถือเป็นนิติกรรมสัญญารูปแบบหนึ่งจึงต้องอยู่ภายใต้หลักกฎหมายเรื่องความสมบูรณ์ของนิติกรรมด้วย เช่น ต้องไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นต้น
ในยุคปัจจุบันที่มีการกู้ยืมเงินกันผ่านทางแชทข้อความแอปพลิเคชันต่างๆทั้ง Facebook , Line ฯลฯ โดยแชทหรือข้อความดังกล่าว หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าแม้ไม่มีการทำสัญญากู้ยืมเงินเป็นหนังสือ แต่การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาทที่มีหลักฐานแห่งการฟ้องครบหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด ก็สามารถนำมาเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเพื่อฟ้องร้องคดีได้เช่นกัน
คำแนะนำเพิ่มเติม : การตกลงยืมเงินในแชททุกครั้ง ผู้ให้กู้ควรสรุปรายละเอียดการกู้ยืมในแชทให้ชัดเจน และครอบคลุมถึงเงื่อนไขสำคัญต่างๆ เช่นชื่อ สกุล ของผู้กู้ ,จำนวนเงินที่กู้ ,กำหนดชำระเงินคืน ,อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงคิดกัน เป็นต้น เพื่อให้ผู้กู้อ่านทำความเข้าใจและตอบรับยินยอมตามเงื่อนไขนั้นกลับมาเป็นข้อความชัดเจนก่อนทำการโอนเงินที่ยืม ทั้งนี้เพื่อความรัดกุมของหลักฐานที่มากขึ้นและป้องกันความเข้าใจคลาดเคลื่อนของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้เบื้องต้น นอกจากนี้ บัญชีที่รับโอนเงินควรเป็นบัญชีที่เป็นชื่อ- สกุลของผู้กู้ซึ่งเป็นเจ้าของบัญชีผู้ใช้งานตามข้อความแชทนั้นโดยตรงเท่านั้น
อ้างอิง
- ป.พ.พ มาตรา 653
- พ.ร.บ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544